📸 ขอเชิญชมภาพบรรยากาศการเสวนาวิชาการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ✨ เรื่อง “แผ่นดินรัตนโกสินทร์ : หลอมรวมราษฎร์ ผสานวัฒนธรรม”
จัดโดย ศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับคณะอักษรศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ห้องการแสดงและกิจกรรม นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ 🏛️
โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้กล่าวเปิดงาน พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา และนายปัทมนิธิ เสนาณรงค์ หัวหน้าฝ่ายบริหารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ กล่าวถึงความสำคัญของงาน
ซึ่งกิจกรรมภายในช่วงเช้าประกอบด้วย
✧ การบรรยายพิเศษ เรื่อง “หลากเชื้อหลายชาติบนแผ่นดินรัตนโกสินทร์” โดย ศาสตราจารย์ ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม สถาบันเอเชียศึกษา
✧การเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “รัตนโกสินทร์ ถิ่นงานผ้า และลีลาดนตรี” โดย นางปิยวรา ทีขะระ เนตรน้อย ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และคุณณชนก วงศ์ข้าหลวง ภัณฑารักษ์ประจำพิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นำเสนอเรื่องราวของผ้าไทย จากนั้น รองศาสตราจารย์ ดร.พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ คณะศิลปกรรมศาสตร์ นำเสนอเรื่องราวของอังกะลุง เครื่องดนตรีที่มีต้นกำเนิดจากประเทศอินโดนีเซีย พร้อมทั้งสาธิตและเล่นอังกะลุงกับผู้เข้าร่วมเสวนา
สำหรับการเสวนาในช่วงบ่ายประกอบด้วย
✦ การเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “การเดินทางผ่านผัสสะรัตนโกสินทร์ (Senses of Journey : Senses of Rattanakosin)” ในหัวข้อ “ดวงหทัยรัตนโกสินทร์” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์ นักวิชาการสาขาประวัติศาสตร์ไทย และประวัติศาสตร์ศิลปะสถาปัตยกรรมไทย และหัวข้อ “สัมผัสถิ่นความหลากหลาย” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พันธุมดี เกตะวันดี รองผู้อำนวยการสถาบันไทยศึกษา ปิดท้ายด้วยหัวข้อ “ลมหายใจแห่งเจ้าพระยา”โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปริญญ์ เจียรมณีโชติชัย หัวหน้าภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
✦ การเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “พหุวัฒนธรรมในภาษาและวรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ตรีศิลป์ บุญขจร ภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสภา และอาจารย์พิเศษภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ และ ดร.อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล ภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสภา สำนักศิลปกรรม สาขาภาษาไทย และกล่าวปิดการเสวนาโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์
นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการนำเสนอข้อมูลด้วยแผ่นภาพ “วิวัฒนาการการละครไทยกับสังคมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์” โดย รองศาสตราจารย์ ฤทธิรงค์ จิวากานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันไทยศึกษา และการนำเสนอผลิตภัณฑ์ชุมชน อาทิ ผลิตภัณฑ์จากร้านน้ำอบนางลอย เขตพระนคร ขนมและผลิตภัณฑ์จากร้านหอมปรุง บาย ใบห่อ ชุมชนจักรวรรดิสัมพันธ์ และขนมเกสรลำพู ซึ่งหาทานได้เพียงเฉพาะที่ชุมชนบางลำพู
นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ 🏛️ 🙏 ขอขอบคุณศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และท่านวิทยากรทุกท่านที่มามอบประสบการณ์ล้ำค่าให้กับผู้เข้าร่วมฟังการเสวนาในครั้งนี้