เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗
ทรงพระเจริญ
ขอให้ทรงหายจากพระอาการประชวร
บทกลอนเฉลิมพระเกียรติ
อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์
LED Wall
Time Line
Library
Remarkable Entertainments
Sky View





แบบฟอร์มการแจ้งความประสงค์ขอเข้าชมแบบเป็นหมู่คณะ

หนังสือ "อัญมณีแห่งมหานคร" นิทรรศน์รัตนโกสินทร์

เพลงรัตนโกสินทร์แผ่นดินแห่งรัก

etc.

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ประตูสู่กรุงของชาติไทย

     

 

ความงดงามของถนนสายราชดำเนินประจักษ์ดีแก่คนไทย แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าถนนราชดำเนินกลางบริเวณลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ซึ่งมีอาคารยุคเก่า 4 ชั้นตั้งอยู่เคียงข้างกันนั้น เสมือนจุดเริ่มต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ที่จะเข้าสู่เขตพระราชพิธี เมื่อครั้งอดีตเปรียบเสมือนหนึ่งประตูสู่รัตนโกสินทร์

อาคารต่างๆ ที่ตั้งตระหง่านทอดตัวยาวเคียงคู่ไปกับถนนราชดำเนินกลางนั้นถือเป็นงานสถาปัตยกรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์กรุงเทพมหานคร นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) มีพระราชดิให้ตัดถนนราชดำเนินจากพระราชวังสวนดุสิตไปยังพระบรมมหาราชวัง โดยจัดวางรูปแบบตามลักษณะของ Champs-Elysees ในประเทศฝรั่งเศส

ล่วงมาถึงปัจจุบัน หลังจากหมดสัญญาเช่า สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยากพัฒนาอาคารบนถนนราชดำเนินให้เกิดประโยชน์กับสังคม เห็นว่าอาคารที่อยู่ในจุดซึ่งเสมือนเป็นประตูสู่กรุงรัตนโกสินทร์หลังนี้น่าจะเป็นสถานที่ของการเก็บรวบรวมข้อมูลเรื่องราวของความเป็น “รัตนโกสินทร์” ทั้งหมดตั้งแต่เริ่มต้นสร้างกรุงจนถึงปัจจุบัน จึงเกิดเป็น ”อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์” ขึ้น โดยจะเปิดให้เข้าชมอย่างเป็นทางการในช่วงเดือนมีนาคมนี้

สำหรับลักษณะสถาปัตยกรรมของอาคารซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลเรื่องราวความเป็นรัตนโกสินทร์หลังนี้เป็นสถาปัตยกรรมช่วง พ.ศ.2475-2489 ซึ่งเป็นการออกแบบในประเทศไทยที่ยึดแนวสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิกตะวันออก ซึ่งต้องมีรูปแบบและสัดส่วนของอาคารที่ถูกต้องทุกส่วน

รูปทรงอาคารเป็นแบบผสมสถาปัตยกรรมตะวันตกใช้รูปทรงเรขาคณิตพื้นฐานคือ สี่เหลี่ยมและวงกลม ประกอบกันอย่างกลมกลืน โดยวางอาคารดด้านยาวขนานไปตามถนนสมมาตรกันตลอดแนวถนนราชดำเนินกลาง ผิวผนังภายนอกอาคารก่ออิฐฉาบปูนทำผิวไม่เรียบ และเซาะร้องเลียนแบบการเรียงหิน ช่วยเน้นแนวขอบครีบคอนกรีตเสริมเหล็ก ขอบปูนปั้น กรอบหน้าต่างให้เด่นชัดยิ่งขึ้น

พล.อ.ต.อาวุธ เงินชูกลิ่น ที่ปรึกษาสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และประธานคณะกรรมการวิชาการอาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ กล่าวถึงอาคารนี้ว่า “อาคารทั้งหมดบนถนนราชดำเนินกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานทั้งหมดเพื่อเก็บไว้ให้คนนรุ่นหลังได้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของสถาปัตยกรรมในสมัยเก่ากับปัจจุบัน ซึ่งจะเห็นว่า จริงๆแล้วสภาพการใช้สอยต่างๆ และสภาพของสังคมนั้นเป็นตัวชี้ให้เกิดรูปลักษณ์ของสถาปัตยกรรมขึ้น เพราะฉนั้นสถาปัตยกรรมก็จะค่อยๆ เปลี่ยนรุปแบบมาเรื่อยๆ ตามความเป็นไปของยุคสมัย”













นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่